Lhong 1919 emerges as a popular attraction on the Thon Buri side of the Chao Phraya River.
คำว่า "ล้ง" มาจากภาษาจีนว่า "ฮวย จุ่ง ล้ง" หมายถึงท่าเรือกลไฟ ในสมัยนั้นพ่อค้าชาวจีนเดินทางมาโดยเรือกลไฟและนำเรือมาจอดที่นี่ ปัจจุบันตระกูลหวั่งหลี เจ้าของมรดกอันทรงคุณค่าชิ้นนี้ได้ปรับปรุงท่าเรือกลไฟและสิ่งปลูกสร้างแบบสถาปัตยกรรมจีนโบราณ อายุราว 167 ปี บนพื้นที่ 6 ไร่ โดยคงกลิ่นอายของอดีตไว้ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังของช่างเขียนชาวจีนบริเวณวงกบประตูและขอบหน้าต่างของอาคารไม้ บอกเล่าวิถึชีวิตของชาวจีนที่เข้ามาค้าขายในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
The main area of this riverside complex. บริเวณหลักของสถานที่ท่องเที่ยวริมแม่น้ำ มีจุดปักธูปเทียนคารวะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตรงนี้ |
ภายในมีศาลเจ้าแม่หม่าโจ้ว (Mazu shrine) หรือศาลเจ้าแม่ทับทิม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน เล่ากันว่า พ่อค้าชาวจีนโพ้นทะเลที่เดินทางมาค้าขายในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่างพากันมาไหว้สักการะศาลเจ้าแห่งนี้ทั้งขาไปและขากลับ เพื่อกราบขอบคุณที่ทำให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ที่นี่สะท้อนให้เห็นศิลปะและวัฒนธรรมจีนในอดีตที่หาดูได้ยากในยุคปัจจุบัน ผู้มาเยือนต่างพากันกดชัตเตอร์กล้องและมือถือเก็บภาพความงดงามของสถานที่ ตระกูลหวั่งหลี เปิด"ล้ง 1919" เป็นสถานที่สาธารณะให้ประชาชนเข้าชมฟรีเมื่อต้นพฤศจิกายนที่ผ่านมา ภายในมีร้านอาหาร และคาเฟ่ให้บริการ นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง
การเดินทางมาที่นี่ มาได้ทั้งทางเรือและทางบก ถ้ามาทางเรือ ใช้บริการเรือข้ามฟาก ท่าเรือสวัสดี-วัดทองธรรมชาติ ส่วนทางบก มีรถเมล์สาย 6 วิ่งผ่านหน้าถนนเชียงใหม่ ตรงข้ามสถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา ใกล้โรงพยาบาลตากสิน ถ้ามารถยนต์ เลี้ยวเข้าถนนเชียงใหม่ ซอยเดียวกับวัดทองธรรมชาติวรวิหาร เข้ามาประมาณ 200 เมตร มีที่จอดรถบริเวณขวามือ ส่วนรถไฟ้า ลงสถานีธนบุรี แล้วเดินหรือต่อรถมาทางโรงพยาบาลตากสินก็จะเห็นปากทางเข้าถนนเชียงใหม่ค่ะ
This road is named after the Wanglee clan, owner of this cultural site. ถนนทางเข้า ล้ง 1919 ตั้งตามชื่อของตระกูลหวั่งหลี |